ทำไมข้าวกล้องไม่ได้ดีสำหรับทุกคน

ทำไมข้าวกล้องไม่ได้ดีสำหรับทุกคน
“ข้าวกล้องสุขภาพเหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัย”

เคยได้ยินการตลาดแบบนี้กันไหมคะ ​?

ไม่มีอะไรสินค้าไหนที่เหมาะสมกับคนทุกคน การตลาดแบบนี้อาจจะเป็นการตลาดที่ไม่ได้ศึกษาและมีข้อมูลเพียงพอต่อผู้บริโภคเลย แม้ข้าวกล้องจะเป็นข้าวสุขภาพ แต่ก็ไม่ได้เหมาะกับคนทุกคนอย่างที่การตลาดว่าแม้แต่น้อย…..

jasmine rice 45583 655

แล้วใครบ้างที่ไม่เหมาะกับข้าวกล้อง?

ได้แก่ ผู้ที่เป็นโรคไต การกินข้าวกล้องอาจเสี่ยงต่อสุขภาพอย่างร้ายแรง ข้าวกล้องมีฟอสฟอรัสสูง ซึ่งอาจนำไปสู่การสะสมของสารพิษในร่างกาย และยังขัดขวางความสามารถของร่างกายในการกรองของเสีย

ดังนั้นแพทย์จึงแนะนำให้ผู้ป่วยโรคไตหลีกเลี่ยงการกินข้าวกล้องเพื่อรักษาสุขภาพ นี่เป็นเพราะพบว่าการบริโภคฟอสฟอรัสมากเกินไปอาจทำให้ไตเสียหายมากขึ้นและนำไปสู่ความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ป่วยโรคไตที่จะต้องตระหนักถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นนี้ และตรวจสอบให้แน่ใจว่าพวกเขาไม่ได้กินข้าวกล้องเป็นส่วนหนึ่งของอาหารของพวกเขา

miniature people doctor nurse observing discussing about human kidneys science medical concep

ความเสื่อมของไตมีหลายระยะ แต่ละระยะก็มีการควบคุมที่เข้มงวดต่างกัน แต่ก็มีข้อมูลพื้นฐานคล้ายๆ กัน คือ ควรจำกัดปริมาณโซเดียม โพแทสเซียม และฟอสฟอรัสในอาหาร นอกเหนือจากโปรตีน 

 

“หากเราได้รับสารอาหารดังกล่าวเกินความต้องการ ไตทำหน้าที่ในการขับ สารอาหารดังกล่าว ออกจากร่างกายในรูปของเหงื่อและปัสสาวะ ถ้าไตเสื่อมการรับประทานอาหารที่มีแร่ธาตุดังกล่าวในปริมาณที่สูง จะทำให้ไตไม่สามารถขับออกจากร่างกายได้ เป็นผลให้ระดับสารเคมีในเลือดจะไม่สมดุลอาจเกิดอันตรายกับผู้ป่วยโดยตรง” 
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย

 

นอกจากข้าวแล้ว อาหารอื่นๆที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น ผลไม้แห้ง น้ำผลไม้เข้มข้น ผักและผลไม้ทุกชนิดมีโพแทสเซียมมากน้อยต่างกัน แต่จะมีวิธีสังเกตง่ายๆ คือให้ดูที่สี ถ้ามีสีเหลือง สีส้ม สีม่วงเข้ม สีแดง มักมีปริมาณโพแทสเซียมสูง เช่น มะเขือเทศ ฟักทอง มันเทศ ผักโขม ตำลึง มะเขือม่วง มะละกอ ทุเรียน กล้วย พริกหวาน 

เนื่องจากโพแทสเซียมเป็นแร่ธาตุที่ไม่ทนต่อความร้อน ดั้งนั้นการนำผักไปผ่านความร้อนก่อนนำไปปรุงอาหาร จะช่วยลดปริมาณโพแทสเซียมได้มากสูงสุดเกือบ 50% ผักและผลไม้บางชนิดที่ต้องการรับประทานแบบสดควรแช่น้ำก่อนบริโภค 3-4 ชั่วโมง เพื่อให้โพแทสเซียมละลายไปกับน้ำ

ดังนั้นผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังจึงต้องระมัดระวังเรื่องการรับประทานข้าว โดยเลี่ยงข้าวที่มีแร่ธาตุโพแทสเซียมและฟอสฟอรัสมาก เช่น ในข้าวที่ไม่ผ่านการขัดสี ถ้าผู้ป่วยต้องจำกัดปริมาณฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมควรเลือกข้าวชนิดที่ขัดขาวเท่านั้นนะคะ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

ปิด